วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตำนานบ้านถวาย: ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ถิ่นล้านนนา

เชื่อกันว่า สมัยที่นครหริภุญชัยกำลังรุ่งเรือง เมื่อประมาณ 1,300 ปีก่อน มีปฐมกษัตริย์นามว่า พระนางเจ้าจามเทวี ผู้ปราดเปรื่องและมีบุญญาธิการสูงเป็นผู้ครองนคร พระองค์ทรงเสด็จไปมาเหนือ-ใต้จนครั้งหนึ่ง ได้เดินทางมาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ผ่านชุมชนน้อยใหญ่มากมายและได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซื่งดินแดนที่เต็มไปด้วยทุ่งนาและป่าไม้เชียวชอุ่มของชาวบ้าน และพระองค์ได้ทรงหยุดพักเหนื่อย ณ ดินแดนแห่งนี้ พอชาวบ้านได้รู้ก็เกิดความปิติยินดียิ่ง  ได้นำเอาผลไม้และเครื่องบรรณาการต่างๆ    ใส่พานโตกไม้นำมาถวายแด่พระองค์     ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาดินแดนแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า บ้านถวาย

 หมู่บ้านถวาย
  หมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านถวายเป็นหมู่บ้านหนึ่งในเก้าหมู่บ้านของตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่อยู่ห่างจากอำเภอหางดงประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 19 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 140 หลังคาเรือน ประชากร 750 คน

                     จากความพยายามและความร่วมมืออย่างแท้จริงของคนในหมู่บ้าน จึงเกิดศูนย์หัตถกรรมไม้แกะสลักขึ้นมา 2 จุดด้วยกันคือ ศูนย์หัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านถวาย และศูนย์หัตถกรรมบ้านถวายสองฝั่งคลอง ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้หมู่บ้านถวายเป็นแหล่งที่ผลิตสินค้าหัตถกรรมไม้แกะสลักที่เป็นที่รู้จักและยอมรับจากทั่วโลก ปัจจุบันหมู่บ้านถวายได้พัฒนาฝีมือและได้เผยแพร่จนเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ นับเป็นธุรกิจที่ทำชื่อเสียงให้แก่บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอหางดง และสามารถนำรายได้เข้าสู่บ้านถวายได้ปีละกว่าสิบล้านบาท

ผู้ให้ข้อมูลอ้างอิง
นายวสันต์  เตชกันต์


ความเป็นมาของอาชีพหัตถกรรมบ้านถวาย

พ่อใจมา อิ่มแก้ว  พ่อหนานแดง พันธุสา และ พ่อเฮือน พันธุศาสตร์ ได้ไปรับจ้างทำงานก่อสร้างในเมืองที่ร้านน้อมศิลป์  บ้านวัวลาย  ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายไม้แกะสลักที่โด่งดังในช่วงนั้น ทั้งสามคนเกิดความสนใจในการแกะสลัก จึงได้เปลี่ยนอาชีพมารับจ้างแกะสลักไม้


            เมื่อเกิดความชำนาญ ทางร้านก็ให้นำงานกลับมาทำที่บ้าน และเป็นจุดเริ่มต้นการถ่ายทอดงานแกะสลักไม้ให้แก่ลูกหลาน ญาติพี่น้อง  เพื่อนบ้าน โดยไม่หวงความรู้แม้แต่น้อย งานที่นำมาถ่ายทอดครั้งแรก คือ การแกะสลักไม้เป็นแผ่นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายรามเกียรติ์ ครุฑ สิงห์  ตุ๊กตาดนตรี ต่อมาก็ทำตัวพระ และรับซ่อมแซมตกแต่งของเก่าประเภทไม้  และเริ่มลอกเลียนแบบของเก่าที่มีผู้นำมาซ่อมแซม  พร้อมทั้งออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จากนั้นก็มีสตรีแม่บ้านของบ้านถวายออกไปรับจ้างทำแอนติค  ทำสี  ตกแต่งลวดลายเดินเส้น(ลายเส้นใช้วัสดุจากปูนขาวสีและชัน ผสมให้เข้ากันตามส่วน นำมาทำเป็นเส้น) เมื่อมีงานเพิ่มมากขึ้นทางร้านก็ให้นำกลับมาทำที่บ้านของตน  คิดค่าจ้างเป็นรายชิ้น  เมื่องานเสร็จก็นำไปส่งคืนให้กับทางร้าน  ซึ่งเป็นโอกาสได้พบปะกับลูกค้าของทางร้าน โดยลูกค้าได้ติดต่อขอที่อยู่ไว้และเข้ามาซื้อโดยตรง ก่อให้เกิดธุรกิจในหมู่บ้านขึ้น  โดยแต่ละบ้านจะปรับบริเวณของตนใช้หน้าบ้านเป็นร้านค้า  และใช้พื้นที่หลังบ้านทำงานหัตถกรรม  จนกลายเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลักในครอบครัว ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


พ่อใจมา  อิ่มแก้ว

พ่อหนานแดง  พันธุสา

พ่อเฮือน  พันธุศาสตร์



ผู้ให้ข้อมูลอ้างอิง
นายวสันต์  เตชกันต์








บ้านทิพย์มณี ศูนย์จัดแสดงงานไม้แกะสลัก บ้านถวายสองฝั่งคลอง

บ้านทิพย์มณี ของ นายเกษม ทิพย์คำมา ภายในหมู่บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งรวบรวมผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรมของช่างแกะสลัก หรือครูช่างที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ ซึ่งงานที่จัดแสดงเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและสวยงาม มีความละเอียด งานแต่ละชิ้นมีเพียงชิ้นเดียวในโลกเพราะการแกะสลักจะใช้จินตนาการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลงาน และเป็นศูนย์กลางในการพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ของบรรดาสล่าเมืองเหนืออีกด้วย นอกจากนั้นยังสามารถเดินชมผลงานและมีการสาธิต ขั้นตอนและกรรมวิธีการแกะสลักไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก โดยเฉพาะห้องจัดแสดงหรือพิพิธภัณฑ์ที่แสดงผลงานที่สุดยอด งดงาม และมีมูลค่าสูงมาก  ที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ มีผลงานที่จัดแสดงงานแกะสลัก เรือสุพรรณหงส์ นางรำ พระพุทธรูป รามเกียรติ์ 





ข้อมูล จากปราชญ์ชุมชน




ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล

ช่างเกษม ทิพย์คำมา
เจ้าของบ้านทิพย์มณี



การแกะสลัก

การแกะสลัก จัดเป็นศิลปะประเภทหนึ่งรวมอยู่ในสาขาประติมากรรม แต่ที่แตกต่างคือ กรรมวิธีของการแกะสลักเป็นการเฉือนส่วนที่ไม่ต้องการออก ให้เหลือแต่ส่วนที่เป็นรูปลักษณ์ที่ต้องการ ส่วนการปั้นนั้นคือการที่เรานำเอาวัสดุที่มีความเหนียวจับกันเป็นก้อนเป็นแท่ง เช่น ดินเหนียว มาปั้นตามแต่จะปั้นให้เป็นรูปอะไร เป็นการเพิ่มวัสดุ การแกะสลักเป็นงานที่แสดงออกซึ่งศิลปะอันประณีตของชนชาติไทย ดังนั้นในทางการการศึกษาจึงได้จัดให้อุตสาหกรรม ประเภทนี้เข้าอยู่ในลักษณะวิชา หัตถศึกษา ดังนั้นตามทำเนียบศักดินาพลเรือน และทหารในกฎหมายเก่าของไทย ซึ่งได้จัดให้เข้าอยู่ในจำพวก “ช่างสิบหมู่” อันได้แก่ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างรัก ช่างบุ และช่างปูน ในครั้งกระนั้นช่างสิบหมู่เป็นหน่วยงานราชการที่มีฐานะระดับกรม เรียกว่า “กรมช่างสิบหมู่” ซึ่งได้วิวัฒนาการมาเป็น “กรมศิลปากร” ในปัจจุบัน




เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก

 1. สิ่ว เป็นเหล็กยาวทำจากเหล็กกล้า มีด้ามถือด้วยไม้ ส่วนมากทำจากไม้ตะโก ปลายมีคม ซึ่งจะมีลักษณะรูปร่าง ขนาดที่แตกต่างกันไป เช่น สิ่วโค้ง สิ่วแบน สิ่วฮาย สิ่วเล็บมือ สิ่วขุด สิ่วฉาก และสิ่วขมวด



2. หินลับ เป็นหินที่มีลักษณะพื้นผิวขรุขระ ใช้ลับคมเครื่องมือแกะสลัก เพื่อให้เกิดความคม




3. ค้อน หรือ ตะลุมพุก ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน เป็นต้น ค้อนไม้ที่ใช้จะมีน้ำหนักเบา ไม่กินแรงเวลาแกะ ควบคุมน้ำหนักของการแกะได้ดี และรักษาสภาพของสิ่วให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น
  


 4. เหล็กตอกลาย ใช้สำหรับตอกลายบนพื้นผิวไม้ ให้เป็นลวดลายตามต้องการในการสร้างงานให้สวยงาม หรือใช้ตอกส่วนที่เป็นพื้นภาพ


5.ก้านมะพร้าว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปัดเศษไม้ที่แกะสลักออกไป แต่ยังทิ้งเศษไม้ตรงส่วนที่แกะอยู่




6.เลื่อย  ใช้สำหรับตัดไม้ที่จะสร้างโครงสร้างในการขึ้นรูป



วิธีแกะสลักไม้
 




1.เตรียมอุปกรณ์ในการแกะสลักไม้
2.นำเศษไม้หรือท่อนไม้มารางลวดลาย ขึ้นรูปตามต้องการ โดยใช้ชอล์กร่าง
3.ใช้สิ่วขนาดใหญ่เจาะให้เป็นเค้าโครง/รูปร่าง/แขน/ขา/ลำตัวพลางๆ
4.ใช้สิ่วเล็กแกะสลักไม้ที่ต้องใช้ความละเอียด(สิ่วมีหลายขนาดสามารถแกะลายละเอียดที่สุดก็ได้)
5.เก็บรายละเอียด เช่น ลายดอก หน้าตา ลายละเอียดอ่อน
6.ใช้กระดาษทรายขัดให้เรียบเนียบ ไม่ให้มีเสี้ยนไม้อยู่
(ถ้าต้องการเล่นสี ก็สามารถเล่นสีได้ตามต้องการ)
7.เป็นอันเสร็จวิธีแกะสลัก


วีดีโอ การแกะสลักไม้



ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล ด้านการแกะสลักไม้

ช่างเลื่อน วิญญารัตน์

แต่งเส้น

การเดินเส้นแต่งลาย   เป็นศิลปะที่ให้ความอ่อนช้อย งานประณีตแสดงความสวยงามด้านการเดินเส้น  เป็นส่วนหนึ่งหรือเพิ่มเติมงานไม้แกะสลักเพื่อให้เกิดความสวยงามและเพิ่มมูลค่าของชิ้นงานให้สูงขึ้น โดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านใช้ปูนขาวสีซันมาผสมกันแล้วนำมาปั่นให้ได้เส้นที่ต้องการเดินลาย การเดินลายจะมีลวดลายต่างๆ ลายไทย ลายหนอน ลายดอก เพื่อให้งานแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกันจึงไม่ค่อยมีงานที่ซ้ำกัน 


อุปกรณ์การเข้ามุก เตรียมเส้นแต่ง เรียกว่า การเข้ามุก


1.สีน้ำมัน(สีดำ)



2.ซัน(ขี้ย่าอุดเรือ)


3.ปูนขาว


4.ซ้อนร่อนปูนขาว


6.กะละมัง(ไว้ผสม)


7.ถังใส่น้ำ

วิธีผสมมุก(ใช้สำหรับการแต่งเส้น)
1.ร่อนปูนขาวลงในกะละมัง
2.ร่อนซัน(ขี้ย่าอุดเรือ)ทับปูนขาว
3.ทำซันกับปูนขาวให้เป็นหลุม
4.เทสีน้ำมันลงไป(สีดำ)
5.ค่อยๆโคนสีกับปูนซันให้เข้ากันอย่างช้าๆ ไปเรื่อยๆ ค่อยๆเติมซันลงไปเรื่อยๆจนเป็นก้อนเหนียว แข็งอ่อน ตามต้องการ
6.นำมุกที่ผสมเสร็จแช่ลงในน้ำที่เตรียมไว้

อุปกรณ์การเดินเส้น เรียกว่า แต่งเส้น ลงลวดลาย

1..สีน้ำมัน
2.แปรงทาสี
3.ชิ้นงานที่ต้องการเดินลาย



วิธีแต่งเส้นเดินลวดลาย







1.นำมุกหรือสีที่ผสมปูนขาวกับซันที่เป็นก้อนมาปั้นให้เป็นเส้นยาวเล็กใหญ่ตามต้องการ
2.ผึงตากไว้ให้แห้งบนผ้า
3.นำชิ้นงานที่ต้องการจะเดินลายมาทาสีทิ้งไว้
4.นำเส้นที่ผึงไว้บนผ้ามารุดกับหวีให้เป็นรอยหยัก เรียกว่า เส้นปั๊ม
5.นำเส้นปั๊มมาเดินขอบชิ้นงานและนำเส้นที่ไม่ได้ปั๊ม มาเดินลายตามต้องการ
6.นำผึงไว้ให้แห้งเป็นอันเสร็จสิ้นวิธี

วีดีโอ วิธีการเข้ามุก แต่งเส้น



ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล ด้านการเดินเส้น แต่งลาย

ช่าง จีรนันท โปธิ







ลงรักปิดทอง ติดกระจก

การลงรักปิดทอง เป็นศิลปะที่ต่อเนื่องจากการเดินเส้นแต่งลาย เป็นการนำทองคำเปลวมาตกแต่งให้ชิ้นงานมีความสวยงาม สง่างาม เพราะคนในอดีตเชื่อว่า ทองคำ เป็นสิ่งที่มีค่า ชาวบ้านก็คิดนำทองคำมาดัดแปลงเป็นแผ่นเปลว เพื่อนำมาปิดหรือมาติดชิ้นงานเพื่อให้สินงานมีมูลค่า 
การปิดกระจก เป็นการนำเศษกระจกที่เป็นสีแต่ละสีมาตัดให้เป็นเม็ดวงกลม เพื่อที่จะนำมาติดชิ้นงานที่ปิดทอง เป็นการเพิ่มความสวยงามหลังจากปิดทองคำเปลว การปิดกระจกยังเป็นขั้นตอนสุดท้ายในงานด้าน การลงลักปิดทอง 


อุปกรณ์การลงรักปิดทอง

1.แผ่นทองคำเปลว



2.ยางต้นรัก



3.แปรงจิ้มทอง(แปรงทาสีธรรมดา)




4.กระจกเม็ด



5.กาว(ใส่ถุง)



6.ไม้จิ้มกระจก จานใส่กระจก


วิธีลงรักปิดทอง ติดกระจก


1.นำชิ้นงานที่ทำการแต่งเส้นมาทายางรักทิ้งไว้ให้ยางลักเหนียว


2.นำแผ่นทองคำเปลวมาติดชิ้นงานที่ทายางรักทิ้งไว้
3.นำแปรงมาจิ้มแผ่นทองคำเปลวให้เข้าตามซอกลาย



4.นำชิ้นงานมาฆ่าทอง หรือ นำเศษทองที่ไม่ต้องการออกไป โดยราดน้ำใส่ผลงาน


5.นำชิ้นงานมาติดกาวเป็นจุด



6.นำกระจกเม็ดมาติดตามจุดกาว ตามความสวยงาม


7.เป็นอันเสร็จสมบรูณ์


วีดีโอการลงรักปิดทอง ติดกระจก






ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล ด้านการลงรักปิดทอง ติดกระจก

ช่าง พิธนภา ชัยศิริ